สิว 6 ชนิด และวิธีการรักษา

ชื่อเรียกของสิวนั้นมีมากมายที่เราสามารถใช้เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสิว เนื่องจากสิวมีหลายประเภท และทางเลือกการรักษาหลายวิธี การแยกประเภทของสิวนั้นค่อนข้างที่จะยากมาก มาเรียนรู้เกี่ยวกับสิว 6 ชนิด ที่แตกต่างกัน ลักษณะของสิวเป็นอย่างไร และวิธีการรักษาสิวเหล่านี้มีอะไรบ้าง

1) สิวหัวขาว

โดยส่วนมากสิวเกิดขึ้นเนื่องจากรูขุมขนในผิวอุดตัน รูขุมขนอุดตันสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีน้ำมันจากแบคทีเรีย หรือการผลิตเซลล์ผิวหนังมากเกินไปหรือเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

สิวหัวขาว (Comedones) แบบปิดเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันตลอดความยาวของรูขุมขน และส่วนหัวของรูขุมขนปิดลงทำให้เกิดรอยนูนสีขาวเล็กน้อยที่ด้านบนของผิวหนัง สิ่งสำคัญคือ ต้องทราบว่าไม่สามารถแก้ไขด้วยการบีบสิวหัวขาวได้ ดังนั้นอย่าพยายามทำให้หัวขาวปรากฏขึ้นเอง เพราะอาจจะต้องกลายเป็นแผลเป็น

การรักษาสิวหัวขาวด้วยยาทั่วไปที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ (OTC) ได้แก่ กำมะถัน กรดซาลิไซลิก หรือเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ อาจจะเป็นการใช้เฉพาะที่ตรงที่เป็นสิวหัวขาว หรือเป็นการใช้ทั่วทั้งหน้าเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และน้ำมันส่วนเกิน เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์เป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่กำมะถันเป็นสารที่อ่อนโยนที่สุดต่อผิวข และกรดซาลิไซลิกช่วยป้องกันไม่ให้สิวอักเสบกลับมาอีกในอนาคต

เรตินอยด์จากวิตามินเอยังมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวที่ไม่อักเสบ ได้แก่ Retinol, Adapalene (Differin) และ Tretinoin (Retin-A) เรตินอยด์ช่วยล้างสิวโดยการคลายรูขุมขนที่เต็มไปด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ถือได้ว่าเรตินอยด์เป็น “หัวใจหลักของการรักษาเฉพาะจุดสำหรับสิว”

 

2) สิวหัวดำ

สิวหัวดำแตกต่างจากสิวหัวขาว เพราะมีสีดำบนผิว สิวหัวดำเป็นสิวหัวแบบเปิดเนื่องจากส่วนหัวของรูขุมขนยังคงเปิดอยู่ในขณะที่รูขุมขนที่เหลืออุดตัน สิวหัวดำสามารถเอาออกได้โดยการบีบ แม้ว่าจะไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้

วิธีการรักษาสิวหัวดำเหมือนกับการรักษาสิวหัวขาว พยายามหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นลอกสิว เพื่อดึงสิวหัวดำ แผ่นลอกสิวนั้นมีฤทธิ์กัดกร่อน ให้ผลดีแค่ชั่วคราวเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วจะทำลายผิว และทำให้อาการสิวแย่ลง

 

3) สิวผด

ผดจะเป็นตุ่มสีแดงขนาดเล็กๆ เกิดจากน้ำมันหรือเซลล์ผิวหนังส่วนเกินปิดกั้นรูขุมขน และผสมกับแบคทีเรียบนผิวหนัง  Cutibacterium acnes หรือ C. acnes (ชื่อเดิม Propionibacterium acnes) ด้านในของผิวส่วนนี้ถูกเปิดออกซึ่งทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวหนังโดยรอบได้ จากนั้นแบคทีเรียจะสร้างแผลอักเสบ ที่มีลักษณะเป็นเลือดคั่งไม่มีหนอง

การรักษาด้วยเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (OTC) มีประสิทธิภาพในการรักษาเลือดคั่งของสิวผด (และสิวอักเสบในรูปแบบอื่น ๆ ) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้แพทย์ผิวหนังอาจสั่งให้ใช้ยาเรตินอยด์ ยาปฏิชีวนะ หรือยาคุมกำเนิด (สำหรับผู้หญิงที่สิวขึ้นในช่วงมีประจำเดือน) เพื่อจัดการกับสิวอักเสบ ยาปฏิชีวนะช่วยกำจัดแบคทีเรีย C. acnes และยาคุมกำเนิดสามารถช่วยลดการผลิตน้ำมันด้วยการลดระดับแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่พบได้ในทั้งชาย และหญิง สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันบนผิวได้

 

 

4) สิวหนอง

สิวหนองนั้นเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กโดยมีจุดตรงกลางเป็นสีขาว และผิวหนังอักเสบสีแดงรอบ ๆ มักพบเป็นกระจุกที่หน้าอกใบหน้า หรือแผ่นหลัง สิวหนองเกิดจากรูขุมขนที่ปิดกั้นได้ติดเชื้อ  หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย มีลักษณะคล้ายกับสิวผด แต่มีของเหลวสีเหลืองไหลออกมา

สิวหนองนั้นหากแตกจะทำให้เชื่อแบคทีเรียแพร่กระจายได้ ดังนั้นโปรดอย่าบีบ หากต้องการระบายออกโปรดพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้สามารถระบายหนองออกได้อย่างถูกต้อง

สามารถใช้ยา OTC ชนิดเดียวกับที่รักษาสิวผดได้ และส่วนมากแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดหนองที่มีแบคทีเรีย

 

5) สิวเป็นตุ่มแข็ง

สิวตุ่มแข็งจะเป็นลักษณะตุ่มสีเนื้อ หรือสีแดงที่โดยสิวอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง สิวที่เป็นตุ่มแข็งเกิดจากแบคทีเรีย C. acnes ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในรูขุมขนที่สร้างความเจ็บปวด

เนื่องจากการรักษาด้วยยา OTC จะออกฤทธิ์แค่ระดับชั้นผิว จึงทำให้ไม่มีประสิทธิภาพกับสิวตุ่มแข็ง แต่แพทย์ผิวหนังสามารถช่วยคุณกำจัดสิวได้ด้วยการสั่งจ่ายยาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ หรือกรดซาลิไซลิก ยาปฏิชีวนะ เรตินอยด์ หรือยาคุมกำเนิด (ในผู้หญิง)

หากยาไม่ได้ผลแพทย์จะทำการระบายก้อนสิวออกด้วยมือ หรือใช้เลเซอร์ หรือสารเคมีด้วยการเอาผิวหนังชั้นนอกออก

 

6) สิวซีสต์

สิวซีสต์เป็นสิวที่รุนแรง โดยเป็นผลมาจากการติดเชื้อที่ลึกลงไปในผิวหนัง ซีสต์ของสิวมีขนาดใหญ่ โดยสิวซีสต์จะมีสีแดงอักเสบ สร้างความเจ็บปวด และเต็มไปด้วยหนอง ซีสต์จะนิ่มกว่าสิ่วตุ่มแข็ง เนื่องจากมีหนอง และมักจะแตกออกมาทำให้ที่ผิวหนังโดยรอบอาจจะติดเชื้อได้

สิวซีสต์เป็นสิวที่รักษายากที่สุด แพทย์ผิวหนังอาจจะสั่งจ่ายยา เช่น Isotretinoin (เป็นเรตินอยด์ที่จำหน่ายในชื่อการค้า Claravis, Myorisan, Zenatane และอื่น ๆ ) ยาปฏิชีวนะ เรตินอยด์เฉพาะที่ ยาคุมกำเนิด (สำหรับผู้หญิง) หรือ Spironolactone (Aldactone) Spironolactone ออกฤทธิ์เหมือนยาคุมกำเนิดสามารถช่วยลดระดับแอนโดรเจน อย่างไรก็ตามยานี้ใช้ในการรักษาสิวในผู้หญิงเท่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ที่ไม่พึงประสงค์ในผู้ชายได้

การรักษาสิวซีสต์นั้นอาจจะต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ในบางครั้งแพทย์ผิวหนังอาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์ในซีสต์ที่ดื้อยา เพื่อเป็นการลดการอักเสบ และรักษาอย่างตรงจุด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●    https://www.medicalnewstoday.com/articles/107146

●    https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/ss/slideshow-acne-dictionary

 

Recommended Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *